วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลอนสำหรับคนที่กำลังโดนหักอก

กลอนอกหัก รักช้ำ...ซ้ำ

อยากหยุดเวลา ไว้ตรงนี้

อยากหยุดเวลา ไว้ตรงนี้
ไม่อยากให้ 1 นาทีข้างหน้า มาถึง
เร็วเกินกว่า จะหาวิธีใด มาฉุดดึง
ไม่พอจะเอ่ย คำลึกซึ้ง ได้หมดใจ
ขอเวลา ให้ฉันบ้าง
อย่ารีบผลัก ความอ้างว้างมาให้
อย่าคิดง่าย ๆ ..แค่จากไป..
..คิดยาก ๆ บ้างได้ไหม..
คิดถึงสภาพฉันที่ไม่เหลือใคร.....แม้แต่เธอ.....




เธอคงไม่มีวันกลับมา

เธอคงไม่มีวันกลับมา
จึงปล่อยฉันให้อ่อนล้าอยู่ตรงนี้
เจ็บปวดกับน้ำตาที่มี
ให้ฉันพร่ำเพ้อทุกนาทีโดยไม่เหลือใคร
แต่อยากให้เธอรู้นะคนดี
ว่าฉันคนนี้ยังคงรักเธอมากแค่ไหน
แม้ในวินาทีนี้ที่เธอคิดถึงใคร
แต่หนึ่งลมหายใจยังมีอยู่ต่อไปเพื่อคิดถึงเธอ





คนใกล้ไม่เคยค่า แลมอง

คนใกล้ไม่เคยค่า แลมอง
คนไกลใยจับจอง ดูค่า
ไกลไม่ไร้เจ้าของ แต่ใกล้ใช่นา
คนไกลใยมิค่า ควรเจ้าแลมอง





กระดาษทรายคือใจเธอ

กระดาษทรายคือใจเธอ
สากเสมอสำหรับฉัน
เมื่อลองสัมผัสมัน
แสบเจ็บคันอย่าบอกใคร





ถ้อยคำ-สายตา

ถ้อยคำ-สายตา
เพียงเท่านี้เธอก็ฆ่าฉันได้
ถูก-ที่ยังหลงเหลือลมหายใจ
แต่เธอรู้จักคำนี้ไหม...ตายทั้งเป็น




กระดาษทรายคือใจเธอ

กระดาษทรายคือใจเธอ
สากเสมอสำหรับฉัน
เมื่อลองสัมผัสมัน
แสบเจ็บคันอย่าบอกใคร





เช็ดน้ำตา ที่ไหลมาที่ละหยด
แล้วจำจดความช้ำ แต่ครั้งหลัง

อดีตรัก ที่เคยได้พุกพัง
จะไปหวัง ให้หวนคืนอีกทำไม



ภาพสุดท้าย ตายจากไปในวันนั้น
ที่บอกกัน มันเพียงฝันอันสุขสม
ที่ผ่านมา อย่าได้คิดจิตโง่งม
หากขื่นขม จมน้ำตาอย่าติดใจ



เดินจากไป ไม่หันหลังดั่งไร้ค่า
เสียงร้องมาว่า อย่าจากพรากกันไป

ยังเย็นชา หาได้ฟังดั่งสะใจ
เดินจากไป ไม่เหลียวแลแยแสกัน



าวันนี้ ที่เธอช้ำน้ำคำรัก
เจ็บยิ่งนัก หักหาญใจไม่สุขสรรค์
จึงกลับมา หารักเก่าเรามีกัน
พูดคำนั้นมัน ไร้ค่าอย่าเอ่ยเลย ...







กลอนอกหัก เป็นเพียง...เส้นขนาน



คนบางคน.. ได้รักได้รู้จักกับใครสักคน แต่แล้วก็มีอันทำให้คนสองคนเป็นได้แค่เพียงเส้นขนาน ที่ไม่อาจบรรจบลงเอยกันได้ ด้วยเพราะใครสักคนอาจมีพันธะกับคนอีกคนก่อนอยู่แล้ว โดยไม่เคยบอกกล่าว...

คนบางคน.. เลือกที่จะเป็นเพียงเส้นขนานกับใครสักคน แม้ต้องแบกรับความรักที่ท่วมท้นในใจอย่างเจ็บปวด เงียบๆเพียงลำพัง แต่ด้วยตระหนักว่า การเป็นเพียงเส้นขนานกันในวันนี้ แม้จะทุกข์เพราะรักมักอยากอยู่ชิดใกล้กับคนที่รัก

คนบางคน.. ยึดมั่นในความรักแต่หากยึดมั่นในความถูกต้องเช่นเดียวกัน บนเส้นขนานที่อาจดูอ้างว้าง เจ็บปวดและว้าเหว่ สับสนและปวดร้าวในใจ แต่บนเส้นขนานที่เดียวดายเส้นนี้

คนบางคน.. เรียนรู้ เข้าใจในความรักมากขึ้นว่า ความรักหากได้มาด้วยการรดน้ำพรวนดินด้วยความผิดหรือการแย่งชิง กิ่งก้านที่แตกดอกออกผล ล้วนแล้วแต่ คือร่องรอยของความเจ็บปวดและความทุกข์

คนบางคน.. ยังคงยืนหยัด กับวันเวลาบนเส้นขนานสายนี้ที่เลือกแล้ว ด้วยเพราะความรักและใครสักคนยังคงอยู่ในใจตลอดเวลา อยู่กับคืนวันที่ผ่านไปและกับความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต บนเส้นขนานที่เดียวดายเส้นนี้ วันหนึ่ง อาจมีใครสักคนร่วมทาง อาจเป็นใครคนเดิม อาจไม่ใช่หรืออาจไม่มี

คนบางคน.. อกกับตัวเองอย่างมีเกียรติและภาคภูมิใจว่า "เราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว" เพียงแค่นี้ ความสุขบนเส้นขนานก็ดูจะไม้ร้างลาและเดียวดายอย่างแน่นอน อาจดูเป็นเรื่องง่ายๆที่จะทำ แต่ไม่ง่ายนักกับการลงมือทำ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำ ขอเพียงไม่ตามใจตัวเองอย่างเพลิดเพลิน

คนบางคน.. ก็รู้ว่าตัวเองทำได้ ในชีวิตของคนเรา เราอาจเคยเป็นทั้งผู้เลือกและผู้ถูกเลือก จะช้าหรือเร็ว จะมากหรือน้อย สักวันเราก็ต้องเลือก หากมีโอกาสได้เลือก จงเลือกให้รอบคอบและถูกต้องที่สุด อาจไม่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่อย่างน้อยเราก็ได้เลือกอย่างถูกต้องที่สุดแล้ว







กลอนอกหัก คนที่ใช่มากกว่า


เรามีเรื่องของคู่รัก 2 คู่มาเล่าให้ฟัง
ทั้ง 2 คู่ต่างก็เป็นคู่รักที่รักกันมาก

ดูแลเอาใจใส่ และเข้าอกเข้าใจกันมานาน 7- 8 ปี
เป็นคู่รักที่คนรู้จักต่างก็แน่ใจว่า …
อีกไม่นานก็คงได้ยินข่าวดี จากคู่รัก 2 คู่นี้แน่ๆ


แต่แล้ววันหนึ่งก็เกิดเหตุการณ์เดียวกันขึ้นกับคู่รักทั้ง 2 คู่
เมื่อฝ่ายชายก็ได้พบใครใหม่ ที่คิดว่า "ใช่" มากกว่า
ผู้หญิงคนใหม่ … ที่สวยกว่าและมีเสน่ห์มากกว่า
ฝ่ายชายตัดสินใจคบดูใจด้วย โดยที่ยังไม่เลิกกับคู่รักเดิม …


ยิ่งคบเขาก็ยิ่งรู้สึกว่าใช่ …
ผู้หญิงคนใหม่ที่คบกันมา 2 - 3 เดือน
กับคนรักคนเดิมใน 7- 8 ปีที่ผ่านมา
เริ่มถ่วงดุลน้ำหนักที่เท่ากัน บนตาชั่งการตัดสินใจขอ งเขา
ทายสิว่า ชายหนุ่มทั้งคู่เลือกใคร
เขาทั้งคู่เลือกผู้หญิงคนใหม่ …



สิ่งที่ผู้ชายทั้งคู่ต่างหยิบยกมากล่าวถึงก็คือ
คนรักคนเดิมที่เคยคบด้วย
มีอะไรบางอย่างที่เขาไม่ค่อยชอบใจ
อาจจะเป็นนิสัยส่วนตัวบางประการ
แต่ในขณะที่คบกันมานั้น …
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาพอรับได้
เมื่อเทียบกับความดีอื่นๆ ที่เธอทำให้เขา



บางที . . . หัวใจก็ยอมเจ็บ
เพียงแลกกับ ความสุขเล็กๆ . . . มาเก็บไว้

บางที . . . เหนื่อยจนลุกขึ้นไม่ไหว
แต่ก็ยังพอใจ . . . กับสิ่งที่เป็น

บางที . . . แม้จะลำบากยากเข็ญ
แต่ก็ยอมเป็น . . . เบี้ยล่างหัวใจเธอ

อาการแบบนี้ใครไม่เป็น . . . ไม่รู้สึกจริงไหม



มันมีเหตุผลหลายอย่าง
ที่เราจำเป็นต้องหักห้ามใจไม่ให้รักใครสักคน
เหตุผลของคนเราย่อมไม่เหมือนกัน
บางคนอาจต้องห้ามใจเพราะรู้ตัวว่ามันคงเป็นไปไม่ได้

บางคนอาจต้องห้ามใจ
เพราะกลัวใจตัวเองจะถลำลึกและเจ็บปวดมากไปกว่านี้
บางคนอาจต้องห้ามใจเพราะมีคนที่รักคนที่เรารักมาก่อน
และคนคนนั้นก็คือคนที่เรารู้จัก
และเราก็ไม่อยากทำร้ายความรู้สึกของคนคนนั้น
บางคนอาจต้องห้ามใจเพราะเขาอาจไม่ได้คิดและรู้สึกเหมือนกับเรา

ทุกข์ทรมานแค่ไหนที่เรารักเขา
แต่ต้องพยายามฝืนใจถอยห่างออกมา
เราต้องเงียบ ต้องเฉยชา ต้องเลี่ยง ต้องหลบหน้า
ต้องทำหน้าตาบึ้งตึงใส่
เพื่อจะย้ำเตือนให้ตัวเองไม่ต้องรู้สึกอะไรใดๆ กับเขา
มันเจ็บแทบบ้าที่ต้องทำร้ายตัวเองด้วยวิธีการนี้
แม้จะดูเป็นวิธีการโง่ๆ
แต่หากจำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องตัวเอง
เพื่อไม่ให้ใจของตัวเองต้องบาดเจ็บ

การถอยห่างจะช่วยสอนให้เราได้เรียนรู้ว่า
ยิ่งเรายึดติด อยากได้ อยากครอบครอง
ยิ่งทำให้เราอ่อนแอและแพ้ภัยตัวเอง
หากไม่ได้เขามาเป็นคนรักของเรา

ขอเพียงแค่เขาได้เข้าใจในเหตุผลข้อนี้
อย่าได้เข้าใจว่าเราโกรธหรือเกลียดเขาถึงต้องแสดงท่าทีเฉยชาใส่
คนเจ็บปวดคนนี้ก็จะได้มีแรงพยุงตัวเองให้ลุกขึ้นมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง
พร้อมที่จะใช้ชีวิตที่เดินบนทางที่เหมาะที่ควร
แม้ว่าการเดินทางจะมีอุปสรรคมากบ้างน้อยบ้างก็ตามที



หลังจากที่เราเข้มแข็งได้แล้ว
ห้ามใจไม่ได้รักเขาได้แล้ว
ทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
คิดและรู้สึกกับเขาได้อย่างคนธรรมดาสามัญที่รู้สึกดีต่อกัน
ไม่ต้องรู้สึกแบบพิเศษที่แอบแฝงด้วยความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา
และสามารถอยู่บนโลกใบเดียวกับเขาได้อย่างจริงใจที่สุด
เป็นธรรมชาติมากที่สุดโดยไม่ต้องกดดันอะไร

หวังว่าเขาคงเข้าใจในเหตุผลที่เรากระทำลงไป
เจ็บนะไม่ใช่ไม่เจ็บ
แต่สักพักก็คงจะหายดี
แล้วทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม



อย่าหลอกตัวเองต่อไป ว่า …
น้ำตาจะล้างดวงตาของเธอ ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น

เพราะในดวงตาที่พร่ามัว ไปด้วยน้ำตาอย่างนั้น
เธอจะมองเห็นอะไรได้ …
นอกจากความทรงจำหม่นมัว
และความฝันอันมืดมิด …

อย่ากล่าวโทษว่า … ตัวเองไม่ดี
ในความรัก ไม่มีใคร ดี หรือ ไม่ดี
มีแค่ "รัก" หรือ "ไม่รัก"
ต่อให้เธอทำดีแค่ไหน
ถ้าลองได้หมดรักแล้ว … ก็ไม่มีทางจะดีไปได้

MV อยากลืมว่าเป็นเพื่อนเธอ faye fang kaew

มหาลัยที่ฝัน


มหาวิทยาลัยนเรศวร

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มหาวิทยาลัยนเรศวรมีประวัติการก่อตั้งและพัฒนาโดยแบ่งได้เป็น 3 ยุคสมัย คือ ยุคที่ 1 วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก ยุคที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก และยุคปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร[6][7]

ในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of Education) ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เป็นสถาบันหลักในการผลิตครูของประเทศ ซึ่งการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษานั้นเริ่มขึ้นที่กรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรกที่ซอยประสานมิตร ต่อมาจึงจัดตั้งเพิ่มเติมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2510 มีที่ตั้ง ณ เลขที่ 1 ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ต่อมา เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 แล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับวิทยาลัยวิชาการการศึกษาอื่นๆ อีก 8 แห่ง การจัดการเรียนการสอนในสมัยนั้นเปิดสอนเพียง 5 คณะ และ 1 วิทยาลัย คือ คณะพลศึกษา (ถูกยุบเลิกในปี พ.ศ. 2535)[8] คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย[9] โดยสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกยังคงใช้สถานที่เดิมของวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก

มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524) ที่กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลก เป็นเมืองศูนย์กลางและเมืองหลักของภาคเหนือตอนล่าง ทางวิทยาเขตจึงขออนุญาตกระทรวงมหาดไทย ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับอนุญาตในปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นช่วงเดียวกับที่ทางทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นประกาศโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของรัฐในส่วนภูมิภาคอีก 5 แห่ง โดยที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่นี้อยู่บริเวณทุ่งหนองอ้อ – ปากคลองจิก ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

ช่วงปี พ.ศ. 2527 - 2531 ทางวิทยาเขตได้เตรียมแผนสำหรับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รัฐบาลในสมัยของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย[7]

ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive University)[10] จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ทางมหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งวิทยาเขตที่จังหวัดพะเยา[11] โดยปัจจุบันได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา[12] และต่อมาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี พ.ศ. 2548[13] เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมให้กับนักเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง


  • ตราสัญลักษณ์พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคาร หลั่งทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายในป้ายชายธง[14]
  • ตราสัญลักษณ์รูปช้างศึก อยู่ภายในโล่กลมแบบโบราณ ตอนล่างรูปช้างศึก มีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ภายในป้ายชายธง[14]
  • ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกเสลา[15]
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเทา-แสด[15]

ทำเนียบผู้บริหารและอธิการบดี

รายนามผู้บริหารและอธิการบดีตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้[7]

วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก
รายนามรองอธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.พนัส หันนาคินทร์ กันยายน พ.ศ. 2510 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก
รายนามรองอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.พนัส หันนาคินทร์ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2526
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ กินาวงศ์ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
3. รองศาสตราจารย์ฉัตรชัย อรณนันท์ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรง ศิริเจริญ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 - 23 เมษายน พ.ศ. 2533
5. ศาสตราจารย์ ดร.สมพร บัวทอง เมษายน พ.ศ. 2533 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (รักษาการ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.สมพร บัวทอง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 - 24 มกราคม พ.ศ. 2534 (รักษาการ)
2. ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ 25 มกราคม พ.ศ. 2534 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2534 (รักษาการ)
25 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
3. ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน 1 เมษายน พ.ศ. 2535 - 19 มกราคม พ.ศ. 2536 (รักษาการ)
20 มกราคม พ.ศ. 2536 - 19 มกราคม พ.ศ. 2544
20 มกราคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน
4. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี 20 มกราคม พ.ศ. 2544 - 19 มกราคม พ.ศ. 2552

การศึกษา

คณะและวิทยาลัย

อาคารเรียนรวมและโรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (ตึก QS)

มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกครอบคลุมทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และหลักสูตรนานาชาติรวมทั้งสิ้น 208 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับประกาศนียบัตร 5 หลักสูตร, ปริญญาตรี 85 หลักสูตร, ปริญญาโท 88 หลักสูตร และปริญญาเอก 30 หลักสูตร[2]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรมีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 16 คณะ 2 วิทยาลัย[16] ดังต่อไปนี้


นอกจากนี้ยังมีบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด

ศูนย์วิทยบริการ

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการ เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ โดยมีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวรกำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยทั้งหมด[17] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปิดทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์วิทยบริการ 10 แห่งดังต่อไปนี้[18][19]

อาคารเวฟเพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

โรงเรียนวัชรวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร

สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 1 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่

โรงเรียนตากพิทยาคม ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์

โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร

โรงเรียนวิทยานุกูลนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่

โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

โรงเรียนอุทัยวิทยาคม ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี

การวิจัย

จากการที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยเป็น "มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) "[10] จึงได้มีการจัดตั้งกองบริหารการวิจัย โดยเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี เพื่อบริหารจัดการ ประสานงานและรวบรวมงานวิจัยต่างๆ ของคณาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัย

ในแต่ละปี กองบริหารการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัด "การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย (Naresuan Research Conference)" ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจนำเสนอผลงานวิจัยและการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 นี้ การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ โดยมีหัวข้อการประชุม เรื่อง "วิถีชีวิตยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Ways of Living Based on a Sufficiency Economy)"

ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2548 มีทั้งสิ้น 112 เรื่อง[20] ส่วนในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น 775 โครงการ[21] โดยแบ่งตามสาขาดังนี้

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ กองบริหารการวิจัย สถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และสำนักหอสมุดที่ได้รับทุนวิจัยรวมอีก 65 โครงการ

ดูเพิ่มเติม ผลงานวิจัยโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยนเรศวร

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

ระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้[22]

ป้ายมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • ระบบรับตรง (โควต้า) มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
  • ระบบรับตรง (โควต้า) โครงการพิเศษต่างๆ ดังนี้
    • โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ
    • โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
    • โครงการนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ที่สนใจภาษาฝรั่งเศส
    • โครงการสำหรับบุตรเกษตรกร
    • โครงการทายาทธุรกิจ
    • โครงการสำหรับผู้มีความสามารถทางด้านทัศนศิลป์
    • โครงการผู้มีความสามารถพิเศษด้านนาฏศิลป์ ดนตรี
    • โครงการผู้มีความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรม (โครงการพระฆเนศ)
    • โครงการผู้มีความสามารถพิเศษด้านผู้นำเชียร์กีฬา
    • โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านกีฬา
  • โครงการภาคพิเศษ โดยเป็นการเรียนในช่วงภาคค่ำ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการสอบคัดเลือก 2 วิธี ดังต่อไปนี้
    • คัดเลือกโดยใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
    • คัดเลือกโดยการสอบของทางมหาวิทยาลัยเอง โดยจะดำเนินการภายหลังการประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าระดับมหาวิทยาลัยของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว

ระดับปริญญาโท

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท[19] ดังนี้

  • การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
  • การคัดเลือก เป็นการคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน

ระดับปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้[19]

[แก้] อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[23] โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย[5]

นอกจากนี้แล้ว การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ในอันดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค โดยเป็นอันดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และอันดับ 988 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก[24]

พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน

หรือที่เรียกว่า "มน.ใน" ส่วนนี้เป็นสถานที่ตั้งแรกเดิมของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก ณ เลขที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุบันคณะและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 คงเหลือแต่เพียงหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำโขง-สาละวินของสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "ไภษัชยศาลา" คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (สนามบิน) คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่เพื่อเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ

หรือที่เรียกว่า "มน.นอก" ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ประมาณ 10 กม. โดยตั้งอยู่ ณ เลขที่ 99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก แต่เดิมนั้นที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินสาธารณะโดยชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งหนองอ้อ - ปากคลองจิก" เนื่องจากเคยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยต้นอ้อ และมีต้นจิกปกคลุมไปทั่ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าใช้พื้นที่และทำการปรับรูปที่ดินและถมหนองน้ำต่างๆ ซึ่งการก่อสร้างอาคารต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นอาศัยแผนแม่บท (Master Plan) ที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2527[7]

ภาพถ่ายทางอากาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร

การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้นคำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลัก โดยมีถนนนเรศวร และถนนเอกาทศรถเป็นถนนสายหลักล้อมรอบมหาวิทยาลัย และมีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่างๆ มีประตูเข้า - ออกโดยรอบมหาวิทยาลัย 6 ประตู ซึ่งอาคารในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาคารดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลทันตกรรม กลุ่มอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร - อาคารศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ - อาคารที่จอดรถ) (กำลังดำเนินการก่อสร้าง) อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ - คณะพยาบาลศาสตร์ - คณะสหเวชศาสตร์ - คณะสาธารณสุขศาสตร์ และอาคารสถานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและวิศวกรรมชีวภาพทางการแพทย์ (กำลังดำเนินการก่อสร้าง)
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคารวิทยาลัยพลังงานทดแทน กลุ่มอาคารคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยอาคารคณะศึกษาศาสตร์ อาคารวิทยาลัยนานาชาติ (อาคารสำนักหอสมุดเดิม) และกลุ่มอาคารคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์ - คณะสังคมศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์
  • อาคารส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารมิ่งขวัญ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ (สำนักงานอธิการบดี) อาคารอเนกประสงค์ อาคารสำนักหอสมุด อาคารสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ (อาคารเรียนรวมและโรงละคร) อาคารบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ชีวิต และอาคารสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาคารหอพักอาจารย์และนิสิต หอพักอาจารย์มีทั้งหมด 8 หลัง โดยมน.นิเวศ 1 - 4 และ มน.นิเวศ 5,6 อยู่บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักอาจารย์ มน.นิเวศ 7,8 จะอยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักนิสิตซึ่งประกอบด้วยอาคารขวัญเมือง และหอพักนิสิต 1 - 16 อยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีหอพักนิสิตแพทย์ซึ่งตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร บริเวณข้าง มน.นิเวศ 6 อีกด้วย
  • ศูนย์กีฬา ประกอบด้วย สนามกีฬากลาง สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามตะกร้อ สนามเปตอง สนามฟุตบอล สนามซอฟต์บอล สนามกีฬาในร่ม โรงละครศิลป์ศาลา (โรงละครกลางแจ้ง) อาคารกิจกรรม และสระว่ายน้ำสุพรรณกัลยา

สถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัย

อาคารและสถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร มีดังนี้

  • อาคารมิ่งขวัญ

เป็นที่ตั้งของหน่วยงานส่วนใหญ่ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี แต่ตัวสำนักงานอธิการบดีอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ โดยตั้งอยู่ตรงข้ามกับอาคารมิ่งขวัญ

  • ลานสมเด็จฯ

คือลานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย

อาคารมิ่งขวัญ (บน) และอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ (สำนักงานอธิการบดี)
  • หอพระเทพรัตน์

หอประดิษฐานพระพุทธรูป ภปร. ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระราชานุญาตให้เป็นศิลปสถานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมทั้งโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "หอพระเทพรัตน์" ซึ่งรูปแบบของหอพระเทพรัตน์นี้ออกแบบโดย อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ โดยมีเอกลักษณ์ให้สะท้อนรูปลักษณะศิลปสถานเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะร่วมกันของสถาปัตยกรรมสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา การจัดวางอาคารนั้นอยู่กลางสระน้ำระหว่างลานสมเด็จฯ สำนักงานอธิการบดี และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับลานสมเด็จฯ และถนนหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร[25]

  • โดม

เป็นชื่อเรียกของอาคารอเนกประสงค์โดยมีหลังคาคล้ายโดม ซึ่งภายในเป็นห้องอเนกประสงค์และลานกีฬาในร่มสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้อาคารอเนกประสงค์ยังเป็นที่ตั้งของห้องพระราชทานปริญญาบัตร พิพิธภัณฑ์ผ้า กองกิจการนิสิต รวมทั้งชมรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย

โครงการพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก[26] โดยประกอบด้วย 2 หน่วยงานคือ

พิพิธภัณฑ์ผ้า

ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารอเนกประสงค์ โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของผ้าจากชนชาติต่างๆ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมและนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและของประดับเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าชนิดต่างๆ และของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์ชีวิต

ประกอบด้วยกลุ่มอาคารทรงไทยที่อยู่ข้างสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งภายในจะให้ความรู้ในด้านความเป็นมาของผ้าและการทอผ้า

เป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ โดยเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง นอกจากเป็นสถานพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรยังเป็นศูนย์ประชุม ศูนย์การวิจัยและสถานที่ทำการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ศูนย์วิจัย หรือสถาบันวิจัย

หอพระเทพรัตน์
  • ตึก CITCOMS

เป็นชื่อเรียกของอาคารสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือตอนล่าง สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษา สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน และกองบริหารการวิจัย

  • ตึก QS

เป็นชื่อเรียกของอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบไปด้วยอาคารเรียนรวมและอาคารโรงละคร นอกจากนี้ สำนักงานกองบริการการศึกษาและสำนักงานไปรษณีย์ยังตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารเรียนรวมอีกด้วย

  • สวนเทเลทับบี้

เป็นสวนสาธารณะกลางมหาวิทยาลัยโดยตั้งอยู่ระหว่างอาคารสำนักหอสมุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ โดยชื่ออย่างเป็นทางการของสวนนี้คือ "กรีน แอเรีย" (Green Area) หรือ "โอเอซิส" (Oasis) จนกระทั่งมีภาพยนตร์สำหรับเด็กเรื่อง "เทเลทับบี้" เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งลักษณะของสวนมีความคล้ายคลึงกับสวนในภาพยนตร์ นิสิตจึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนเทเลทับบี้จนติดปาก

  • สวนพลังงาน

ตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทน โดยเป็นสวนตัวอย่างที่เป็นแหล่งสาธิตการใช้งานจริงของระบบพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ชีวมวล และมีศูนย์ธุรกิจที่เป็นแหล่งของความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการดำเนินการส่งเสริมธุรกิจทางด้านพลังงานทดแทน[27]

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

การเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี ส่วนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และหลักสูตรคู่ขนานของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี[22] นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักนิสิตในคณะอื่น ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี

กิจกรรมและประเพณีของมหาวิทยาลัย

สวนเทเลทับบี้
รับน้องเฟรชชี่และบีกินนิ่งแคมป์ (Beginning Camp)
กิจกรรมรับน้องใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อให้นิสิตใหม่รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้นและให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างน้อง-พี่
กิจกรรมประชุมเชียร์
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีของนิสิตชั้นปีที่ 1 และเป็นการสอนร้องเพลงมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ซึ่งภายหลังกิจกรรมประชุมเชียร์แล้ว แต่ละคณะมักจะให้มีการซ้อมการแสดงสแตนเชียร์ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมประชุมเชียร์นี้จะจัดขึ้นในห้องเชียร์ ของแต่ละคณะ
หนองอ้อเกมส์
กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตคณะต่างๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์ของแต่ละคณะ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
งานเปิดโลกกิจกรรมและเฟรชชี่ ไนท์ (Freshy Night)
กิจกรรมที่ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 เลือกเข้าชมรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการแสดงดนตรี การแสดงของนิสิตแต่ละคณะ และการประกวดดาวและเดือนของมหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้น ณ อาคารเอนกประสงค์
งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ของทุกปีในคณะต่างๆ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภายในงานจะมีนิทรรศการความรู้และกิจกรรมเสริมสร้างความรู้มากมาย
งานลอยกระทง เทิดไท้องค์ราชันย์ มิ่งขวัญนเรศวร
งานประเพณีลอยกระทงของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปีในวันลอยกระทง โดยภายในงานจะมีขบวนแห่กระทงยักษ์ของแต่ละคณะ งานจัดร้านขายของและซุ้มเกมส์ของนิสิตแต่ละคณะ รวมทั้งงานแสดงมหรสพอีกมากมาย
อาคารอเนกประสงค์ (โดม)
งานเทา-งามสัมพันธ์

งานสานความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เคยเป็นวิทยาลัยวิชาการการศึกษาในอดีต ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ[28]

งานกีฬาเฮลธ์ไซนซ์ (Health Sciences Games)

เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 7 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี

เอ็นยู วอยซ์ มิวสิก คอนเทสต์ (NU. Voice Music Contest)

งานประกวดการขับร้องเพลงไทยสากลและเพลงสากลประจำปีของมหาวิทยาลัย โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมหรือมกราคม ของทุกปี

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมภายในของแต่ละคณะ และกิจกรรมระหว่างคณะของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัย

ดูเพิ่มเติม กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

การพักอาศัยของนิสิต

อาคารขวัญเมืองและหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่นอกเขตตัวเมือง ทำให้นิสิตส่วนใหญ่ทั้งที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดพิษณุโลก และนิสิตที่มาจากจังหวัดอื่นๆ มีความจำเป็นในการพักอาศัยในหอพักบริเวณมหาวิทยาลัย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้สร้างหอพักนิสิตภายในมหาวิทยาลัย โดยมีนโยบายให้นิสิตชั้นปี 1 ทุกคณะ พักอาศัยอยู่ภายในหอพักนิสิตของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนนิสิตคณะอื่นๆ ซึ่งหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยบริเวณข้างอ่างเก็บน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีทั้งสิ้น 15 อาคาร โดยมี "อาคารขวัญเมือง" เป็นอาคารบริการและอาคารอเนกประสงค์ของหอพักนิสิต การพักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัยนั้นจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายรายเทอม[29] และในส่วนของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทางคณะมีหอพักให้สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 2 - 6 โดยเก็บค่าใช้จ่ายรายปี

สำหรับนิสิตชั้นปีอื่นๆ สามารถเช่าหอพักเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย[30]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ณ ห้องพระราชทานปริญญาบัตร ภายในอาคารอเนกประสงค์

งานเทา-งามสัมพันธ์

กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย รวมทั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี "เทา" ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า "งาม" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น "เทา-งามสัมพันธ์" ซึ่ง " มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ " เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการร่วมกัน

[แก้] การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย

หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์ - พิษณุโลก) มหาวิทยาลัยนเรศวรจะตั้งอยู่ทางขวามือช่วงกิโลเมตรที่ 117 - 118 สำหรับการเดินทางจากภายในตัวเมืองพิษณุโลกมาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น สามารถทำได้โดย

  • รถโดยสารประจำทาง ปอ.12 ซึ่งจะมีจุดจอดอยู่ที่ สถานีรถไฟและสถานีขนส่งพิษณุโลก
  • รถสามล้อรับจ้าง
  • รถแท๊กซี่รับจ้าง

ส่วนจุดจอดรถโดยสารประจำทาง ปอ.12 ในมหาวิทยาลัยนั้นจะจอดที่ป้ายรถโดยสารประจำทางเยื้องหอพักอาจารย์ มน.นิเวศ 7,8

สำหรับการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยจะมี "โครงการขนส่งมวลชนมหาวิทยาลัยนเรศวร (ขสมน.)" ซึ่งเป็นรถประหยัดพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าบริการรอบมหาวิทยาลัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่เวลา 6.30 น. ถึง 24.00 น.

ดูเพิ่มเติม แผนที่เส้นทางเดินรถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยนเรศวร

[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร

ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นคณาจารย์และผู้บริหารทั้งในอดีต และปัจจุบัน รวมทั้งศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก จนกระทั่งถึงสมัยมหาวิทยาลัยนเรศวร มีหลากหลายตั้งแต่บุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง นักวิชาการ ศิลปิน ข้าราชการและคณาจารย์ เช่น

[แก้] การออกนอกระบบเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล

การออกนอกระบบเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลของมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น มีที่มาตั้งแต่การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ต่อสภามหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2542 และผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี พ.ศ. 2547[31] ต่อมาคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้มีมติเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[32]

หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ฉบับออกไป แต่ต่อมาภายหลังจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรียบร้อยแล้ว ทางศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้เสนอนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อพิจารณาให้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับข้างต้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และต่อมาได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[32] จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้สอบถามมายังสภามหาวิทยาลัยเพื่อยืนยันการเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้ง ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยได้ทำการประชุมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีมติเห็นชอบและให้การสนับสนุนด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 7[33][34]

รัฐบาลจึงได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าบรรจุเป็นวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฉบับ ส่วนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ให้ชะลอเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้งในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[31]

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้มีกลุ่มนิสิตของมหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์แสดงความเคลือบแคลงสงสัยในขั้นตอนการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยอ้างว่าทางมหาวิทยาลัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยน้อยเกินไป ทำให้นิสิตไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังขาดกระบวนการทำประชาพิจารณ์ที่ถูกต้อง โดยนิสิตที่เข้าร่วมเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนน้อยเกินไป ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตในการประชุมเสนอความเห็น เพียงแต่บอกข้อดี ข้อเสีย และความไม่โปร่งใสเนื่องจากมีการเข้าวาระการพิจารณาอย่างเร่งด่วน[35] และในวันเดียวกันนั้นได้มีนิสิตประมาณ 500 คนเดินขบวนประท้วงรอบมหาวิทยาลัยเพื่อต่อต้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วย[36]

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มายื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วาระประชุมในสภา เพื่อขอให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยให้เหตุผลว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้นิสิตมีส่วนร่วมในร่างนี้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมาทำความเข้าใจตกลงร่วมกันกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อน[34] ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ใหม่อีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550[37] แต่ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้เหตุผลว่าการทำความเข้าใจกับบุคลากรและนิสิตอย่างทั่วถึง จะต้องใช้เวลาพอสมควรหากจะดำเนินการในระยะเวลาสั้นๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาดังเช่นที่ผ่านมาขึ้นอีกได้ จึงเห็นควรชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ไปจนกว่าจะทำความเข้าใจกับประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีความเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่ายจึงจะดำเนินการนำเสนอต่อไป[38][39]

ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอถอนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากได้เลื่อนการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง[40]